วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

หญ้าเลี้ยงช้าง(เนเปียร์)

     
 ผมมีโอกาสได้รับข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับหญ้าเลี้ยงช้างหรือหญ้าเนเปียร์มาซักระยะหนึ่งแล้วครับ มีข้อมูลหลายอย่างที่น่าสนใจอยากจะแบ่งปันให้ทุกท่านได้ลองอ่านกันดูครับ ทำไมผมถึงสนใจเรื่องนี้น่ะหรอครับ ก็เพราะมันเกี่ยวข้องกับทั้งสิ่งแวดล้อมและพลังงานนั่นเองครับ ว่ากันว่าในอนาคตเมื่อวิกฤตด้านพลังงานมาถึงหญ้าเนเปียร์นี่แหละครับจะเป็นพลังงานทางเลือกที่สามารถผลิตได้อย่างไม่รู้จบและเป็นพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกต่างหาก

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

ขั้นตอนของกระบวนการบำบัดน้ำเสีย

          ตามตำราแล้วขั้นตอนของการบำบัดน้ำเสียนั้นจะแบ่งตามลักษณะของการทำงานในแต่ละขั้นตอนซึ่ง วันนี้ผมจะเล่าเป็น 4 ขั้นตอนหลักตามลักษณะการทำงานของการบำบัดนะครับ
ขั้นตอนแรกคือ กระบวนการบำบัดขั้นต้น มีจุดประสงค์เพื่อแยกสารต่างๆ ปรับสมดุล ปรับค่าพีเอช กำจัดสารแขวนลอย ตกตะกอน และบำบัดสารอินทรีย์ที่มีความเข้มข้นสูง เป็นต้น กระบวนการบำบัดขั้นต้นนั้น ก็อย่างเช่น การดักขยะด้วยตะแกรง การปรับสมดุล การลอยตะกอน การตกตะกอน เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 คือ กระบวนการบำบัดขั้นที่สอง พูดง่ายก็คือเป็นกระบวนแยกสารต่างๆพวกโลหะหนัก หรือสารอินทรีย์และอนินทรีย์ต่างๆที่ละลายอยู่ในน้ำออกมาด้วยวิธีการ ตกผลึก ระบบเอเอส การโปรยกรอง แผ่นหมุนชีวภาพ บ่อปรับเสถียร เป็นต้น โดยปกติแล้วขั้นตอนนี้ถือได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญและต้องใช้ความรู้ในการบำบัดน้ำเสียมาก ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ในการวางระบบ

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

พื้นฐานระบบบำบัดมลพิษทางน้ำ

        จากการฝึกอบรมของผมในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ ทำให้ได้รับความรู้อย่างมากมาย และหนึ่งในเรื่องราวเหล่านั้นก็คือขั้นตอนวิธีการต่างๆในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งวันนี้จะขอเล่าถึงหลักการในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมีทั้งสิ้น 3 กระบวนการหลักๆคือ การบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ การบำบัดน้ำเสียทางเคมี และการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ เพียงแค่ 3 กระบวนการนี้ทุกท่านเชื่อไหมว่าท่านจะทำน้ำที่สกปรกสุดชีวิตให้กลายเป็นน้ำที่ผ่านมาตรฐานน้ำทิ้งได้

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

ที่มา เกร็ดสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงาน

            บทความลับสุดยอดที่ท่านทั้งหลายจะได้รับชมในบล็อกนี้ เป็นการกลั่นกรองความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในเรื่องของมลพิษทางน้ำและการอนุรักษ์พลังงาน จากบุคคลที่มีความชำนาญและประสบการณ์การการทำงานด้านนี้มาเป็นเวลานาน ซึ่งจะพบปัญหาและแนวทางแก้ไขที่ได้กลั่นกรองออกมาเป็นบทความเด็ดๆลงมาในนี้แล้ว มีบางคนเกิดคำถามว่าแล้วผู้เขียนเกี่ยวอะไรกับเรื่องเหล่านี้ ขอตอบเลยว่าผู้เขียนเองทำงานด้านนี้มาระยะนึงซึ่งได้รับความรู้จากการอบรม พูดคุยกับบุคคลหลายท่านที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ เช่น อาจารย์ที่ปรึกษาของผู้เขียนเองจากมหิดล หรืออาจารย์จากพระจอมเกล้า หรือจุฬา เป็นต้น ซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมความรู้เก็บไว้และมีแนวคิดที่จะเพิ่มคุณค่าให้กับความรู้เหล่านี้และต้องการที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้รู้ทุกท่านที่เข้ามาอ่านและมีข้อเสนอแนะ เพื่อเก็บเป็นความรู้และวิทยาทานแก่ผู้อ่านท่านอื่นๆต่อไป ผู้เขียนหวังว่าบทความที่เผยแพร่ในนี้จะเป็นประโยชน์และได้รับความคิดเห็นรวมถึงข้อเสนอแนะดีๆจากทุกท่านนะครับ