แหล่งรวมความรู้ ประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงาน เช่น วิธีการควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย หรือแนวทางการจัดการพลังงานในโรงงานและอาคาร ที่สามารถใช้งานได้จริง by Theweplant
วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556
หญ้าเลี้ยงช้าง(เนเปียร์)
ผมมีโอกาสได้รับข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับหญ้าเลี้ยงช้างหรือหญ้าเนเปียร์มาซักระยะหนึ่งแล้วครับ มีข้อมูลหลายอย่างที่น่าสนใจอยากจะแบ่งปันให้ทุกท่านได้ลองอ่านกันดูครับ ทำไมผมถึงสนใจเรื่องนี้น่ะหรอครับ ก็เพราะมันเกี่ยวข้องกับทั้งสิ่งแวดล้อมและพลังงานนั่นเองครับ ว่ากันว่าในอนาคตเมื่อวิกฤตด้านพลังงานมาถึงหญ้าเนเปียร์นี่แหละครับจะเป็นพลังงานทางเลือกที่สามารถผลิตได้อย่างไม่รู้จบและเป็นพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกต่างหาก
หญ้าเนเปียร์หรือที่ฝรั่งเค้ารู้จักกันในนามของหญ้าเลี้ยงช้าง(Eleplant Grass) ตอนแรกผมฟังก็งงว่าทำไมคนไทยรู้จักชื่อฝรั่งแต่ฝรั่งรู้จักชื่อแบบไทย ช่างมันเถอะครับ มาอ่านกันต่อดีกว่า หญ้าเนเปียร์เดิมมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศไต้หวัน เป็นหญ้าที่ใช้นำมาเลี้ยงสัตว์ด้วยคุณสมบัติของความอร่อยในความรู้สึกของสัตว์และมีการปลูกที่ไม่ต้องดูแลมากแต่ให้ผลผลิตอย่างมากมายมหาศาลเลยแหละครับ พอเข้ามาในประเทศไทยกรมปศุสัตว์ก็เลยนำไปพัฒนาสายพันธุ์จนกลายเป็นสายพันธุ์หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 เพราะว่าพัฒนาสายพันธุ์มาจากทางปากช่องนั่นเองครับ นอกจากที่หญ้าเนเปียร์จะมีประโยชน์ทางโภชนาการแก่สัตว์แล้ว องค์ประกอบทางชีวภาพของมันก็น่าสนใจไม่แพ้กันครับ ปกติแล้วในการผลิตไบโอก๊าซนั้นส่วนใหญ่จะนำมูลสัตว์มาหมักในระบบไร้อากาศเพื่อให้ได้ก๊าซมีเทนมาใช้ แต่ด้วยคุณสมบัติของหญ้าเนเปียร์ที่มีปริมาณสารประกอบคาร์อยู่อย่างมากมายนั่นเองทำให้นำมาทำพลังงานทดแทนได้อย่างน่ามหัศจรรย์เช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรหันมาให้ความสำคัญโดยการปลูกหญ้าเนเปียร์อย่างแพร่หลายในหลายๆจังหวัดทั่วประเทศไทยของเรา เพราะถ้าเปรียบเทียบกับการปลูกข้าวแล้วต่างกันอย่างสิ้นเชิง คือถ้าปลูกข้าวต้องเตรียมดินใหม่ทุกๆครั้งที่จะปลูกเนื่องจากเวลาเกี่ยวก็ต้องเก็บไปทั้งต้นแต่หญ้าเนเปียร์นั้นลงทุนประมาณ 7 พันบาทต่อไร่แต่สามารถเกี่ยวผลผลิตได้ถึง 5 ปีด้วยกัน ซึ่งเกี่ยวได้ทุกๆ 45 วันเพราะหญ้าชนิดโตเร็วมากทีเดียว แค่อ่านแค่นี้หลายๆคนคงอยากจะรีบหาพันธุ์มาปลูกกันแล้วใช่ไหมล่ะครับ แต่ยังไม่หมดเท่านั้นครับยังมีมูลค่าจากการเก็บเกี่ยวไปขายอีกมากมายจะเล่าต่อให้ฟังครับ
หญ้าเนเปียร์นี้โดยเฉลี่ยจะสามารถเกี่ยวได้ประมาณ 8 ครั้งต่อปีและผลผลติต่อไรต่อปีขั้นต่ำอยู่ที่ 60 ตัน เยอะไหมล่ะครับแค่ไรเดียวเองนะครับ ซึ่งถ้าหากดูจากราคาที่สามารถขายได้นั้นตกกิโลกรัมละ 1 บาทซึ่งนั่นก็หมายความว่าจะได้ 6 หมื่นบาทต่อไร่ต่อปีกันเลย น่าสนใจมากกว่าเดิมอีกใช่ไหมล่ะครับ สรุปว่าพื้นเพียง 10 ไร่ก็มีโอกาสได้เงินกลับมามากกว่าครึ่งแสนต่อปีแน่นอน และรับรองได้ว่าราคาไม่ตกเหมือนข้าวอย่างแน่นอนเพราะอะไรน่ะหรอครับ ก็เพราะพลังงานมีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุดไงล่ะครับ
สุดท้ายผมจะเล่าให้ฟังว่าหญ้าเนเปียร์ 1 ตันสามารถผลิตก๊าซ CBG ได้ถึง 45 กิโลกรัม ท่านลองคิดดูสิครับว่าตอนนี้รัฐบาลมีการสนับสนุนพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือกที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความต้องการของสินค้าไม่ลดลงง่ายๆอย่างแน่นอน อนาคตผมคิดว่าหญ้าเนเปียร์นี้จะปลูกเยอะขึ้นเรื่อยๆในเมืองไทยแน่ๆ ถ้าใครอยากหาข้อมูลเพิ่มเติมลองติดตามได้นะครับ ส่วนตัวผมเองตั้งใจว่าจะศึกษาระบบการผลิตก๊าซ BCG และทำเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทผมในอนาคตต่อไปอย่างแน่นอน อย่างติดตามบทความของผมในตอนต่อไปนะครับ ......By Theweplant
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น